ไข้หวัดไหญ่
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza FLU) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก พบสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัว ร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหาของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอหรือ จาม หรือหายใจรดกัน
ระยะฟักตัว
มีระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ เรียกว่า ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทางพันธุ์อื่น ๆ ได้จึงอาจติดเชื้อ จากพันธุ์ใหม่ได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อ ของประเทศที่เป็นแหลงต้นกำหนด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกง (เรียก สั้น ๆ ว่าไข้หวัด ฮ่องกง หรือหวัดฮ่องกง),ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์เป็นต้น
อาการ
มักจะเกิดขึ้นทันที่ทันใดด้วยอาการไข้สูงหนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก(โดย เฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นขา ต้นแขน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลียอาจจะเป็นอยู่ อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่องจากมีการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน
สิ่งที่ตรวจพบ
ไข้ 38.5-40 ํC เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อย หรือไม่แดงเลย(ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก เจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ
อาการแทรกซ้อน
- ให้การดูแลปฏิบัติตัวเหมือนเป็ฯไข้หวัด คือนอนพัก มาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้อมอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน(ข้าวต้ำ โจ๊ก) ดื่มน้ำ และน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ มาก ๆ
การรักษา - ให้การดูแล และปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ตดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำลแน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มาก ๆ
- ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้บรรเทาปวด ยาแก้ไอ ยาดแก้หวัด เป็นต้น (ในกรณีเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน)
- ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลด สีเหลืองหรือเขียว ,ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะ ที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี แอมพิซิลลิน หรือ อีโรโทรมัยซิน
- ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุ หรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าพบว่าปอดอักเสบ ควรให้ยา ปฏิชีวนะชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
ข้อแนะนำ
- โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง
- อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้เลือดออก หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฎให้เห็นก็ควรให้การรักษา ตามโรคที่สงสัย
ถ้าหากมีอาการไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดแต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน - ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ๋มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน
- การป้องกัน ให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับไข้หวัด ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกัน ได้นานประมาณ 12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีอยู่หลายพันธุ์ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในการระบาดครั้งต่อไปจะเกิดจากเชื้อชนิดใด
ที่มา : http://www.bknowledge.org/home/page/health/files/23.html