ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป

ลักษณะที่ตั้ง

เทศบาลตำบลบ้านสาตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแจ้ห่มไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1035 สายลำปาง – แจ้ห่ม มีพื้นที่ 128.03 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 80,018 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ป่าสงวน 90.03 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทำการเกษตร 30.00 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 9,812 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 8.00 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 10 หมู่บ้าน

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาล้อมรอบ ชุมชนที่อยู่อาศัยมีที่ราบลุ่มเป็นบางส่วนมีแม่น้ำวังไหลผ่านทุกหมู่บ้านและมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ จดกับ อบต.วิเชตนคร , อบต.แจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
  • ทิศใต้ จดกับ อบต.นิคมพัฒนา , อบต.บุนนาคพัฒนา และ อบต.บ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง
  • ทิศตะวันออก จดกับ อบต.เมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม
  • ทิศตะวันตก จดกับ อบต.บ้านขอ , อบต.ทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน และ อบต.บ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง
ประชากร

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านสา มีจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวน 4,915 คน แยกเป็นชาย จำนวน 2,421 คน หญิงจำนวน 2,494 คน จำนวนครัวเรือน จำนวน 1,742 ครัวเรือน มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 39.56 คน/ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง รวม ครัวเรือน ผู้นำหมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านแป้น 216 224 440 162 นายประทวน ปู่ย่า
หมู่ที่ 2 บ้านสบหก 197 216 413 139 นายเกษม  งามสม
หมู่ที่ 3 บ้านสาแพะ 274 269 543 175 นางคงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง
หมู่ที่ 4 บ้านสา 293 325 618 264 นายอรุณ  อินตานันท์
หมู่ที่ 5 บ้านสามัคคี 269 231 500 245 นายปรีดา บุญเตี่ยม
หมู่ที่ 6 บ้านแป้นใต้ 166 176 342 141 นายบัณฑิต  จันทร์ยอด
หมู่ที่ 7 บ้านสาแพะเหนือ 264 265 529 167 นายสงกรานต์  เป็นพวก
หมู่ที่ 8 บ้านแป้นพัฒนา 186 192 378 156 นางอุดร หล้าอินเชื้อ
หมู่ที่ 9 บ้านแป้นโป่งชัย 228 249 477 170 นายแก้ว  สวัสดี
หมู่ที่ 10 บ้านสามัคคีเหนือ 254 264 518 167 นายภูมิพิภักดิ์ ภักดี

ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2567

สภาพเศรษฐกิจ อาชีพ

– อาชีพของราษฎรส่วนใหญ่ คือ อาชีพทางด้านเกษตรกรรม เป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชที่สำคัญ เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง ผักกาดเขียวปลี มะม่วง สับปะรด บวบ ยาสูบ ฟักทอง และฝรั่ง
– อาชีพรองลงไป คือ อาชีพรับจ้าง ประมง เลี้ยงสัตว์ และอาชีพเก็บหาของป่ามาขาย
– รายได้เฉลี่ยของราษฎร ทั้ง 10 หมู่บ้าน มีดังนี้
หมู่ที่ 1 จำนวน 28,552 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 2 จำนวน 32,909 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 3 จำนวน 35,199 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 4 จำนวน 45,372 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 5 จำนวน 33,120 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 6 จำนวน 41,812 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 7 จำนวน 30,821 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 8 จำนวน 42,838 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 9 จำนวน 47,118 บาท/คน/ปี
หมู่ที่ 10 จำนวน 27,429 บาท/คน/ปี

เทศบาลตำบลบ้านสา มีพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรมและทางด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่บ้านสามัคคีหมู่ที่ 5 เป็นที่ตั้งของเหมืองแร่หินปูนเพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด จากนี้ยังมีเหมืองแร่ดินขาวใช้ทำผลิตภัณฑ์เซรามิค เช่น ถ้วยชาม แจกันและของที่ระลึกต่างๆ ซึ่งที่ตั้งของเหมืองแร่ดินขาวตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านสามัคคี และหมู่ที่ 3 บ้านสาแพะ

หน่วยธุรกิจในเทศบาล

– ปั๊มน้ำมัน – แห่ง
– โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง

สภาพทางสังคม การศึกษา (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2566)

การศึกษา

1. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด 223 คน

  • โรงเรียนชุมชนบ้านสา จำนวนนักเรียน 72 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน นายศักดิ์ชัย ตั้งอารมณ์
  • โรงเรียนบ้านแป้น จำนวนนักเรียน 108 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน นายฉลอง  หน้างาม
  • โรงเรียนบ้านสาแพะ จำนวนนักเรียน 43 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน นายอำนาจ ใจยาบุตร

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง มีเด็กเล็กทั้งหมด 53 คน

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.บ้านสา จำนวนนักเรียน 53 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นางเบญญาภา จิตต์กล้า
    รวมจำนวนนักเรียน 53 คน

3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน10 แห่ง

4. สถาบันและองค์กรทางศาสนา 4 แห่ง ดังนี้

  • วัดบ้านแป้น มีพระภิกษุ 6 รูป สามเณร 6 รูป พระครูวิธานสาธุกิจ เป็นเจ้าอาวาส
  • วัดสาญาณพลาราม มีพระภิกษุ 2 รูป สามเณร 7 รูป พระครูจารุอาวาสวัตร ชยธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส
  • วัดสามัคคีธรรม มีพระภิกษุ 1 รูป สามเณร 1 รูป พระพิสิษฐ์สิริบุญโญ เป็นเจ้าอาวาส
  • วัดสาแพะพนาราม มีพระภิกษุ 5 รูป สามเณร 1 รูป พระครูสันติพนารักษ์ เป็นเจ้าอาวาส

5. โบสถ์ – แห่ง

สาธารณสุข

1. โรงพยาบาลของรัฐ – เตียง – แห่ง
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านสาเหนือ)                                    เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน
3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานระดับหมู่บ้าน 7 แห่ง
4. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
5. มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ครบทั้ง 10 หมู่บ้าน จำนวน 134 คน

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

1. สถานีตำรวจ – แห่ง
2. สถานีดับเพลิง – แห่ง
3. ตู้ยามตำรวจ 1 แห่ง

การบริหารพื้นฐาน

การคมนาคม

การคมนาคมขนส่งจากตัวเมืองลำปางเข้าสู่อำเภอแจ้ห่มผ่านที่เทศบาลตำบลบ้านสาใช้เส้นทางทางหลวงหมายเลข 1035 (สายลำปาง – แจ้ห่ม) เป็นเส้นทางหลักระยะทางจากตัวเมืองลำปางถึงอำเภอแจ้ห่ม 52 กิโลเมตร และจากที่ทำการเทศบาลตำบลบ้านสาถึงที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม 10 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีถนนของกรมโยธาธิการจังหวัดลำปางเชื่อมระหว่างบ้านสบหก หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสา – บ้านทุ่งอุดม ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน และระหว่างบ้านแป้นใต้ หมู่ที่ 6 – บ้านสาแพะเหนือ หมู่ที่ 7 , บ้านฮ่องลี่ หมู่ที่ 5 ตำบลแจ้ห่ม ปัจจุบันอยู่ในความดูและขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

การโทรคมนาคม

– ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข – แห่ง
– สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ – แห่ง
– มีการบริการติดตั้งโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ครบทุกหมู่บ้าน (ยกเว้นหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 7 การบริการยังไม่เข้าถึง)
– นอกจากนี้ยังมีตู้โทรศัพท์ไว้บริการในตำบลอีก 22 แห่ง แยกเป็น
หมู่ 2 แบบหยอดเหรียญ 1 แห่ง , แบบใช้บัตร 1 แห่ง
หมู่ 3 แบบหยอดเหรียญ 1 แห่ง , แบบไร้สาย 8 แห่ง (บ้านนางมณีรัตน์ สูงดี เบอร์ 054-203139)
หมู่ 4 แบบหยอดเหรียญ 1 แห่ง
หมู่ 5 แบบหยอดเหรียญ 3 แห่ง , แบบใช้บัตร 1 แห่ง
หมู่ 7 แบบหยอดเหรียญ 2 แห่ง , แบบผู้ดูแล 1 แห่ง (บ้านนายถวิล วงศ์คำปวง เบอร์ 054-248023)
หมู่ 8 แบบหยอดเหรียญ 1 แห่ง
หมู่ 9 แบบหยอดเหรียญ 2 แห่ง

การไฟฟ้า

ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านสา มีไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 10 หมู่บ้าน ประชากรผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 4,915 คน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

– ลำน้ำ 1 สาย คือ ลำน้ำแม่วัง
– ลำห้วย 12 สาย ดังนี้
หมู่ที่ 1, 6 8, 9 -ลำห้วยแป้น และลำห้วยแม่ดำ
หมู่ที่ 2 -ลำห้วยหก และลำห้วยบอน
หมู่ที่ 3 -ลำห้วยแนต, ลำห้วยแก้ว และลำห้วยคัดเลือด
หมู่ที่ 4 -ลำห้วยขี้ลืม
หมู่ที่ 5 -ลำห้วยลา, ลำห้วยต้นผึ้ง และลำห้วยหวิน และลำห้วยหลวง
หมู่ที่ 7 -ลำห้วยคัดเลือด
– บึง, หนองน้ำและอื่นๆ 11 แห่ง ดังนี้
หมู่ที่ 1 -หนองใหม่, หนองน้ำวังลาว, หนองน้ำเหมืองกลาง
หมู่ที่ 2 -หนองฮ่องกว่าง, หนองสบหก, หนองเอ๋อ
หมู่ที่ 3 -หนองบวกโค
หมู่ที่ 5 -สระเก็บน้ำหนองปง
หมู่ที่ 9 -หนองน้ำวัดโป่ง, หนองน้ำโป่งใต้,หนองน้ำโป่งเหนือ

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

– ฝาย 5 แห่ง ดังนี้
หมู่ที่ 1 ฝายน้ำล้นห้วยแม่ดำ , ฝายน้ำล้นห้วยแป้น
หมู่ที่ 3 ฝายน้ำล้นลำห้วยแนต , ฝายน้ำล้นลำห้วยแก้ว
หมู่ที่ 6 ฝายน้ำล้นลำห้วยโป่ง
– บ่อน้ำตื้น 170 บ่อ
หมู่ที่ 1 40 บ่อ
หมู่ที่ 2 20 บ่อ
หมู่ที่ 3 30 บ่อ
หมู่ที่ 4 30 บ่อ
หมู่ที่ 5 20 บ่อ
หมู่ที่ 6 30 บ่อ
– บ่อโยก 7 แห่ง
– ประปาหมู่บ้าน 19 แห่ง ดังต่อไปนี้
1. ระบบประปา ณ วัดสามัคคีธรรม หมู่ที่ 5 จำนวนผู้ใช้น้ำ 164 ครัวเรือน โดยมีกรมทรัพยากรธรณีเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2540
2. ระบบประปา ณ บ้านแป้นใต้ หมู่ที่ 6 จำนวนผู้ใช้น้ำ 112 ครัวเรือน โดยมี รพช. เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2540
3. ระบบประปา ณ บ้านสาแพะเหนือ หมู่ที่ 7 จำนวนผู้ใช้น้ำ 128 ครัวเรือน โดยมีกรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2537
4. ระบบประปา ณ บ้านแป้นใต้ หมู่ที่ 8 จำนวนผู้ใช้น้ำ 203 ครัวเรือน กรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2549
5. ระบบประปา ณ บ้านแป้นใต้ หมู่ที่ 8 จำนวนผู้ใช้น้ำ 120 ครัวเรือน โดยมีกรม โยธาธิการ เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2531

6. ระบบประปา ณ บ้านแป้นโป่งชัย หมู่ที่ 9 จำนวนผู้ใช้น้ำ 200 ครัวเรือน โดยมี รพช. เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2537
7. ระบบประปา ณ บ้านสามัคคีเหนือ หมู่ที่ 10 จำนวนผู้ใช้น้ำ 142 ครัวเรือน โดยมีกรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2536
8. ระบบประปา ณ บ้านแป้นเหนือ หมู่ที่ 1 จำนวนผู้ใช้น้ำ 120 ครัวเรือน โดยมี กรมโยธาธิการเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2532
9. ระบบประปา ณ บ้านสบหก หมู่ที่ 2 จำนวนผู้ใช้น้ำ 115 ครัวเรือน โดยมีกรม โยธาธิการ เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2533
10. ระบบประปา ณ บ้านสาป่าก่อ หมู่ที่ 5 จำนวนผู้ใช้น้ำ 164 ครัวเรือน โดยมี กรมโยธาธิการเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2537
11. ระบบประปา ณ บ้านสาเหนือ หมู่ที่ 4 จำนวนผู้ใช้น้ำ 205 ครัวเรือน โดยมีกรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2535
12. ระบบประปา ณ บ้านแป้นใต้ หมู่ที่ 6 จำนวนผู้ใช้น้ำ 115 ครัวเรือน กรมอนามัย,อบจ.เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2535
13. ระบบประปา ณ บ้านสามัคคี หมู่ที่ 5 จำนวนผู้ใช้น้ำ 164 ครัวเรือน โดยมีกรมอนามัย เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2535
14. ระบบประปา ณ บ้านสามัคคี หมู่ที่ 5 จำนวนผู้ใช้น้ำ 50 ครัวเรือน โดยมี อบจ. เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2549
15. ระบบประปา ณ บ้านแป้น หมู่ที่ 1 จำนวนผู้ใช้น้ำ 122 ครัวเรือน โดยมีกรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2536
16. ระบบประปา ณ บ้านสาแพะ หมู่ที่ 3 จำนวนผู้ใช้น้ำ 205 ครัวเรือน กรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2537
17. ระบบประปา ณ บ้านสบหก หมู่ที่ 2 จำนวนผู้ใช้น้ำ 120 ครัวเรือน โดยมี กรมอนามัย เป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2539
18. ระบบประปา ณ บ้านสบหก หมู่ที่ 2 จำนวนผู้ใช้น้ำ 70 ครัวเรือน โดยมีกรม โยธาธิการเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2534
19. ระบบประปา ณ บ้านสาเหนือ หมู่ที่ 4 จำนวนผู้ใช้น้ำ 175 ครัวเรือน โดยมี กรมอนามัยเป็นผู้ดูแล สร้างเมื่อปีงบประมาณ 2545

ข้อมูลอื่น ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
– ป่าไม้
– แร่ดินขาวในท้องที่ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 3
– หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมในท้องที่หมู่ที่ 5

มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น
– ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 60 คน
– กลุ่มแม่บ้าน 6 รุ่น
– กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ 1 กลุ่ม
– กลุ่มอาชีพตามโครงการเศรษฐกิจชุมชน 3 กลุ่ม

ข้อมูลนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น